รถไฟฟ้าสายสีชมพู ที่ดินย่านแครายถึงปลายมีนบุรี อีก 2 ปีราคาพุ่ง “เท่าตัว”
หลังจากรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองได้ผู้รับสัมปทานดำเนินโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คือ กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS Group บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH และบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC นั้น โดยหลังจากนี้ จะเสนอครม.พิจารณาเห็นชอบอนุมัติผลการประกวดราคาในโครงการ
และในวันที่ 2 พ.ค 60)เรียกได้ว่ามีโอกาสความเป็นไปได้สูง ที่มติครม. จะเคาะผลประมูลรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลือง
สำหรับโครงการพัฒนาเส้นทาง รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ที่วิ่งผ่านระยะทางกว่า 34.5 กิโลเมตรนั้น ประเมินว่าเป็นอีกหนึ่งเส้นทางแห่งโอกาสในอนาคตของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะเข้าไปจับจองซื้อหาที่ดินดิบเพื่อพัฒนาโครงการค่อนข้างมาก
รถไฟฟ้าสายสีชมพูนั้น ถูกแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ แจ้งวัฒนะ-วงเวียนอนุสาวรีย์หลักสี่และ ถ.รามอินทรา – ปลายมีนบุรี สำหรับในช่วงแรกจะเห็นว่ามี “คอนโดฯ” ค่อนข้างเยอะ ส่วนช่วงที่2 จะเป็นช่องวางทางการตลาดของแนวราบ เสียส่วนใหญ่
ทั้งนี้ ขออ้างอิงผลสำรวจ จากบริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) เปิดเผยตัวเลขซัพพลายสะสมในตลาดย่านรถไฟฟ้าสายสีชมพู ทั้งสิ้น 24,400 ยูนิต แบ่งเป็นสัดส่วนคอนโดกว่า 64% อยู่ในช่วงติวานนท์-หลักสี่ ราคาขายต่อยูนิตเฉลี่ย 2- 3 ล้านบาท จากราคาขายเริ่มต้น 30,000 – 80,000 บาทต่อตร.ม. อีก 36% ช่วง ถ.รามอินทรา ส่วนใหญ่เป็นบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ ส่วนคอนโด ราคาขาย 50,000 – 70,000 บาทต่อตร.ม. ซึ่งซัพพลายยังไม่สูงมาก เริ่มขยายตัวในปี 2558-2559 ซึ่งหลังจากปี 2559 มีซัพพลายเพิ่มขึ้นปีละ 1,200 -1,600 ยูนิต
โดยปีนี้คาดว่าจะมีดีเวลลอปเปอร์ 3-4 รายใหญ่และกลาง เปิดตัวโครงการใหม่ รวม 2,000-3,000 ยูนิต รองรับสายสีชมพู แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัวเลขดังกล่าวยังไม่นิ่ง เพราะผู้ประกอบการบางรายต้องรอภาวะเศรษฐกิจ กำลังซื้อ ความเชื่อมั่นผู้บริโภค ตลอดจนความชัดเจนของแผนก่อสร้าง
จับตาแนวโน้มความเคลื่อนไหว แถววงเวียนหลักสี่ และปลายสถานีแถวมีนบุรี อีก 2 ปีราคาที่ดินปรับเพิ่ม “เท่าตัว”
ปัจจุบันราคาที่ดินแนว รถไฟฟ้าสายสีชมพู เปิดหน้าดินขายเฉลี่ย 1-2 แสนบาทต่อตร.ว. ส่วนย่านมีนบุรี ราคาค่อนข้างสูงอยู่ที่ 3 แสนบาทต่อตร.ว. โดยช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ราคาที่ดินสายสีชมพูปรับเพิ่มขึ้น 15%
นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจเกี่ยวกับผังเมืองใหม่บริเวณสายสีชมพูนี้ เพราะพื้นที่ย่านดังกล่าวนั้น การพัฒนาอาคารนั้น จะจำกัดความสูง สามารถสร้างได้ 8 ชั้นในโซนนี้ ทำให้การพัฒนาโครงการอสังหาฯ ในช่วงที่ผ่านมา พบว่าส่วนใหญ่เป็นทาวน์เฮ้าส์ มีคอนโดฯบ้างประปราย หากมาพิจารณาถึงศักยภาพการพัฒนาโครงการแนวสูงในสายชมพูนั้น ยังมีน้อย มีเพียงช่วงต้นของเส้นแจ้งวัฒนะเท่านั้นที่สามารถพัฒนาแนวสูงได้ แต่ในโซนรามอินทรา – มีนบุรี น่าจะมีผังเมืองที่เป็นเกณฑ์รองรับการพัฒนาโครงการโซนนี้ในอนาคตด้วย
Ref: Propertytoday
info: ddproperty